วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)

           สยุมพร  ศรีมุงคุณ (https://www.gotoknow.org/posts/341272)  ได้กล่าวถึงทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)  ไว้ว่าเป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น  จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย  หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ  ได้เป็นเวลานาน  สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding)  เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว  วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การท่องจำซ้ำๆ  การทบทวน  หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
          http://e-book.ram.edu/e-book/s/SE742/chapter3.pdf  ได้รวบรวมเกี่ยวกับทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)  ไว้ว่า  คิดค้นโดย Klausmeier ทฤษฏีนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสตปิญั ญา ของมนุษย์ ด้านการท างานของสมองโดยมีแนวคิดว่าการท างานของสมองมนุษย์มีความ คล้ายคลึงกับการท างานของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีทฤษฏีการเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้ในการ จัดการเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้ (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ , 2552 : หน้า 31-33) Klausmeier กล่าวว่าสมองของมนุษย์สามารถเรียนรู้ได้เหมือนการท างานของ คอมพิวเตอร์ โดยมีขั้นตอนการท างาน 3 ขั้นตอนดังนี้
        1. การรับข้อมูล (input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล กระบวนการประมวลข้อมูลเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัส ทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจ าระยะสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับ องค์ประกอบ 2 ประการ คือ การรู้จัก (recognition) และ ความใส่ใจ (attention) ของบุคคลที่ รับสิ่งเร้า สิ่งเร้านั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจ าระยะสั้น (short – term memory) ซึ่งจะ อยู่ในระยะเวลาที่จ ากัด ในการท างานที่จ าเป็น ต้องเก็บข้อมูลไว้ใช้ชั่วคราว อาจจ าเป็นต้องใช้ เทคนิคต่างๆในการช่วยจ า เช่น การจัดกลุ่มค าหรือการท่องซ ้าๆซึ่งจะช่วยให้จ าได้
        2. การเข้ารหัส (encoding) ท าได้โดยอาศัยชุดค าสั่ง หรือซอฟแวร์ (software) การเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ท าได้โดยข้อมูลนั้นต้องได้รับการประมวล และเปลี่ยน รูปโดยการเข้ารหัส เพื่อน าไปเก็บไว้ในความจ าระยะยาว (long – term memory) ซึ่งอาจต้อง ใช้เทคนิคต่างๆเข้าช่วย เช่น การท าข้อมูลให้มีความหมายกับตนเอง โดยการสัมพันธ์สิ่งที่ เรียนรู้ใหม่กับสิ่งเก่าที่เคยเรียนรู้มาก่อน ซึ่งเรียกว่าเป็นกระบวนการขยายความคิด (elaborative operations process) ความจ าระยะยาวมี 2 ชนิด คือ ความจ าที่เกี่ยวกับภาษา (semantic) และความจ าที่ เกี่ยวกับเหตุการณ์ (episodic) ความจ าระยะยาวมี 2 ประเภท คือ ความจ าประเภทกลไกที่เคลื่อนไหว (motoric memory) หรือ ความจ าประเภทอารมณ์ ความรู้สึก (affective memory)
         3. การส่งข้อมูลออก (output) ท าได้โดยผ่านทางอุปกรณ์ เมื่อข้อมูลได้รับการบันทึกไว้ ในความจ าระยะยาวแล้วบุคคลจะสามารถเรียกข้อมูล ต่างๆออกมาใช้ได้ การเรียกข้อมูลออกมาใช้ บุคคลต้องถอดรหัสข้อมูล (decoding) จาก ความจ าระยะยาวนั้น และส่งผลต่อไปสู่ตัวก่อก าเนิดพฤติกรรมตอบสนอง ซึ่งจะเป็นแรงขับหรือ กระตุ้นให้บุคคลมีการเคลื่อนไหวหรือการพูด สนองตอบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ
         http://emagazine.ipst.ac.th/2013/pdf/182.pdf  ได้รวบรวมเกี่ยวกับทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)  ไว้ว่า โดยนักจิตวิทยา กลุ่มนี้ได้มีการนำ เสนอโมเดลที่อธิบายการทำ งานของระบบสมอง มนุษย์อยู่หลากหลายโมเดล แต่โมเดลที่ได้รับการยอมรับมากก็คือ โมเดลการทำ งานของ สมองแบบคู่หน่วยความจำ (A Dual Store Model of Memory) ที่นำ เสนอโดย ริชาร์ด แอทคินสัน (Richard Atkinson) และ ริชาร์ด ซิฟฟริน (Richard Shiffrin) โมเดลนี้สามารถแสดงได้ดังรูป 2
         การทำ งานของสมองตามโมเดลแบบคู่หน่วยความจำ นี้ จะ ประกอบไปด้วยสามส่วนหลัก โดยส่วนแรกคือ หน่วยรับข้อมูลจาก ประสาทสัมผัส (Sensory Register) จะทำ หน้าที่รับข้อมูลจาก ภายนอกในรูปแบบของการมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรับรส และการสัมผัส แล้วส่งไปยังหน่วยประมวลผล โดยหน่วยประมวลผล จะมีหน่วยความจำสองแบบที่มีหน้าที่และคุณสมบัติที่แตกต่างกันคือ หน่วยความจำระยะสั้นหรือหน่วยความจำสำ หรับการประมวลผล (Short-Term/Working Memory) ในส่วนนี้จะทำ หน้าที่ประมวล ผลข้อมูลที่ได้รับจากหน่วยรับข้อมูลจากประสาทสัมผัส โดยใช้ข้อมูล จากหน่วยความจำ หน่วยที่สองในการตีความ ซึ่งหน่วยความจำ หน่วย ที่สองนี้คือ หน่วยความจำ ระยะยาว (Long-Term Memory) จะ มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่ระบบสมองได้ทำการพิจารณาแล้วว่าเป็นข้อมูลที่ มีความสำคัญควรค่าแก่การจดจำ เพื่อนำมาใช้ในอนาคต โมเดลการทำ งานของสมองแบบคู่หน่วยความจำ จึงมีลักษณะ คล้ายการทำ งานของคอมพิวเตอร์ที่ประกอบไปด้วย หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) แรม (RAM) และ รอม (ROM) ดังรูป 3 โดยที่หน่วย รับข้อมูลของคอมพิวเตอร์เปรียบได้กับหน่วยรับข้อมูลจากประสาท สัมผัสของระบบสมอง ซึ่งหน่วยรับข้อมูลของคอมพิวเตอร์นี้มีหน้า ที่ในการรับข้อมูลจากภายนอกผ่านทางคีย์บอร์ด เมาส์ ไมโครโฟน หรือหน้าจอ (ในกรณีที่เป็นจอระบบสัมผัส) แล้วส่งข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผลที่ประกอบไปด้วยหน่วยความจำสองแบบคือ แรม (RAM) ซึ่งเปรียบได้กับหน่วยความจำ ระยะสั้นของระบบสมอง โดย แรมจะมีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลที่จำ เป็นสำ หรับการประมวลผลแบบ ชั่วคราวเท่านั้น ในขณะที่หน่วยความจำ หน่วยที่สองก็คือ รอม (ROM) หรือที่เรารู้จักคือ ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) จะเป็นหน่วยความจำ หลัก ที่เก็บข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ เอาไว้ ซึ่งเปรียบได้กับหน่วยความจำระยะ ยาวของระบบสมองนั่นเอง
สรุป
        ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ 
ที่มา
          สยุมพร  ศรีมุงคุณ.[online].https://www.gotoknow.org/posts/341272.ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ  25  กรกฎาคม  2558.
         http://e-book.ram.edu/e-book/s/SE742/chapter3.pdf.แนวคิด/ทฤษฎีการเรียนการสอนที่เน้นทางด้านสติปัญญา.สืบค้นเมื่อ  25  กรกฎาคม  2558.
         http://emagazine.ipst.ac.th/2013/pdf/182.pdf.ระบบการทำงานของสมองกับ การเรียนการสอน วิชาฟิสิกส์.สืบค้นเมื่อ  25  กรกฎาคม  2558.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น