วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

นวัตกรรม

        https://th.wikipedia.org/wiki/นวัตกรรม  ได้รวบรวมถึงนวัตกรรมไว้ว่า  นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
          นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤต
         ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร
          http://dict.longdo.com/search/นวัตกรรม ได้รวบรวมถึงนวัตกรรมไว้ว่า  นวัตกรรม หรือนวกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมา หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่และเหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดย มีหลักการที่สำคัญอยู่ 3 ประการ ที่จัดเป็นหลักพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาหรือไม่ คือ
          - สิ่งนั้นควรเป็นสิ่งที่ค้นพบ หรือประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หรือการปรับปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมกับกาลสมัยมาใช้ในวงการศึกษา เพื่อให้ระบบการศึกษาก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ
          - ได้ผ่านการทดลอง การปรับปรุงพัฒนา จนเป็นที่ยอมรับกับอย่างแพร่หลาย
          - ได้มีการนำมาปฏิบัติจริงในวงการนั้น
          กาญดา  โกศัย (https://www.gotoknow.org/posts/492099)  ได้กล่าวถึงนวัตกรรมไว้ว่า  นวัตกรรมหมายถึง   ความคิด  การปฏิบัติและการกระทำใหม่ ๆ  ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
          นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน  แปลว่า  ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา  ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ  การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่  เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  หรือก็คือ  การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น  โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง  (Changs)  ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส  ( Opportunity)  และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
          นวัตกรรมเป็นตัวแปรที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงองค์กรด้านต่าง ๆ    ในเชิงธุรกิจ  ได้แก่  ความอยู่รอด  การเจริญเติบโต  การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน    การสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่และสมรรถนะหลัก    ซึ่งนวัตกรรมไม่ใช่แค่การพัฒนาสินค้าใหม่  เท่านั้น  แต่เกี่ยวข้องกับการลดต้นทุน  การแสวงหาแนวทางการตอบสนองความต้องการของตลาด  การยกระดับคุณภาพชีวิตและการสร้างคุณภาพเพิ่ม
          นวัตกรรมในยุคแรก ๆ  เกิดจากการคิดค้นใหม่ทั้งหมด  แต่นวัตกรรมในยุคใหม่เกิดจากการพัฒนาให้  เป็นชิ้นใหม่ที่มีมูลค่า  และสามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้
องค์ประกอบของนวัตกรรม
1. เป็นสิ่งใหม่
2. เน้นใช้ความรู้ความคิดสร้างสรรค์
3. เป็นประโยชน์  ต้องตอบได้ว่าสิ่งที่เราสร้างเป็นอย่างไร
4. เป็นที่ยอมรับ
5. มีโอกาสในการพัฒนา
นวัตกรรมมี  4  ประเภท
1. product  innovation : การเปลี่ยนแปลงในผลิตภัณฑ์หรือบริการของ   
2. Process  innovation :  การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือกระบวน การนำเสนอผลิตภัณฑ์ 
3. Position  innovation :  การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสินค้าหรือบริการเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งของผลิตภัณฑ์  โดยการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ต่อลูกค้า  
4. Paradigm  innovation :  การมุ่งให้เกิดนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงกรอบความคิด                                                                                   
          นวัตกรรมแบบก้าวกระโดด  (Radical  Innovation)  จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเป็นผู้นำตลาดของธุรกิจ ร่วมทั้งสามารถสร้างมูลค่างการตลาดและความเป็นอยู่รอดของธุรกิจได้มากกว่านวัตกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป   แต่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับองค์กร   ซึ่งทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่หรือบริการใหม่ ๆ  ขึ้น   เกิดการขยายตัวในทางธุรกิจมากขึ้น   มีการลงทุนมากขึ้น ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ การเปลี่ยนแปลงแบบ Incremental  นี้เปรียบเสมือนกับการเสริมรากฐานของการเรียนรู้ให้มั่นคงยิ่งขึ้น เกิดพัฒนาการเรียนรู้จากการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งสามารถเพิ่มผลิตภาพขององค์กรได้อย่าง
นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กร ท้องถิ่นและประเทศอย่างไร
          นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กร   ท้องถิ่นและประเทศ  คือ   ความสำเร็จขององค์กร   ท้องถิ่น   และประเทศนั้นจะต้องเกิดขึ้นจาก นวัตกรรมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมทางด้านสินค้า   ด้านกระบวนการทำงาน  ด้านการให้บริการ  ด้านการจัดการ หรือด้านการตลาด  และการที่องค์กรจะสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่องจะต้องเกิดขึ้นจากนวัตกรรม  องค์กรสามารถนำนวัตกรรมทางด้านการจัดการ   ใหม่ ๆ  มาประยุกต์ใช้ในองค์กรได้  ย่อมทำให้องค์กรมีความพร้อมและสามารถที่จะแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้ ได้แก่ การนำหลักการแนวคิดและวิธีการใหม่ทางด้านการจัดการเข้ามาใช้ในการบริหารองค์กร    ถ้าองค์กรที่ไม่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง   และพัฒนาตัวเองจากสิ่งใหม่ ๆ  ได้แล้วยากที่องค์กรนั้น จะครองความเป็นหนึ่งได้
         "นวัตกรรม"  มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทย  ในการจะยืนอยู่บนเวทีโลกอย่างเข้มแข็ง   ทั้งในมิติ  ด้านเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนา  ที่ยั่งยืน  การปรับเทคโนโลยีใน   กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมสู่การทำ นวัตกรรม  เป็นเรื่องที่จำเป็น โดยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่า ขณะนี้  การใช้เทคโนโลยีที่คิดค้นเองในประเทศเพิ่งเริ่มต้น     จึงต้องมีการเร่งกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา    และการบริหารจัดการภายใต้แนวคิดและรูปแบบใหม่   ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและระดับท้องถิ่น โดยสร้างให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมจำนวนมากพอที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้อย่างรวดเร็ว
          วงจร  การปฏิบัติงาน  (Operation)  การปรับปรุงแก้ไขงาน  (Improveement)  และนวัตกรรม มึความเกี่ยวข้องกัน  คือ  นวัตกรรมเกิดจากการปฏิบัติงานที่มีการวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบรวมถึงการกำหนดสิ่งที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ   และนำสิ่งที่ดำเนินการมาวิเคราะห์  ทบทวนและปรับปรุงผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์จนกลายมาเป็นนวัตกรรมในที่สุด
การนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในองค์กร
          นวัตกรรมที่องค์กรได้นำมาประยุกต์ใช้  คือ  Product  innovation   และ  Paradigm  innovation  เทศบาลได้นำการทำบัตรประชาชนเป็นแบบ  Smartcard และสามารถทำ  online  ได้ทั่วประเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน  ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มี่อยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม  ทั้ งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานและสะดวกรวดเร็วในการทำ  สามารถทำได้ทุกอำเภอ     ในประเทศไทย  บัตรประชาชนแบบ  Smartcard  ใบเดียวสะดวกในการใช้บริการด้านต่าง ๆ  จะบันทึกข้อมูลของแต่ละคนไว้
ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยี
        “เทคโนโลยี” เป็นความรู้หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลาย  อย่างเช่น กล้องถ่ายรูปดิจิตอลในปัจจุบันที่ใช้อย่างแพร่หลาย  เรียกว่าเทคโนโลยี  ส่วน “นวัตกรรม” นั้นจะคล้าย ๆ กับเทคโนโลยี  แตกต่างกันตรงที่ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่  อาจจะดีไม่เท่าหลังจากที่กลายเป็นเทคโนโลยีแล้วและยังใช้กันไม่แพร่หลายนั่นเอง  เช่น  กล้องถ่ายรูปโบราณ ๆ  ในสมัยก่อนที่พึ่งริเริ่มประดิษฐ์
สรุป
         นวัตกรรมหมายถึง   ความคิด  การปฏิบัติและการกระทำใหม่ ๆ  ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
องค์ประกอบของนวัตกรรม
1. เป็นสิ่งใหม่
2. เน้นใช้ความรู้ความคิดสร้างสรรค์
3. เป็นประโยชน์  ต้องตอบได้ว่าสิ่งที่เราสร้างเป็นอย่างไร
4. เป็นที่ยอมรับ
5. มีโอกาสในการพัฒนา
นวัตกรรมมี  4  ประเภท
1. product  innovation : การเปลี่ยนแปลงในผลิตภัณฑ์หรือบริการของ   
2. Process  innovation :  การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือกระบวน การนำเสนอผลิตภัณฑ์ 
3. Position  innovation :  การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสินค้าหรือบริการเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งของผลิตภัณฑ์  โดยการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ต่อลูกค้า  
4. Paradigm  innovation :  การมุ่งให้เกิดนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงกรอบความคิด                                                                                
ที่มา
https://th.wikipedia.org/wiki/นวัตกรรม.นวัตกรรม.สืบค้นเมื่อ  25  กรกฎาคม  2558.
http://dict.longdo.com/search/นวัตกรรม.นวัตกรรม.สืบค้นเมื่อ  25  กรกฎาคม  2558.
กาญดา  โกศัย.[online].https://www.gotoknow.org/posts/492099.ความหมายของนวัตกรรม.สืบค้นเมื่อ  25  กรกฎาคม  2558.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น